ยมเทพผู้เป็นต้นแบบแห่งความเที่ยงธรรม พระนางกุนตีเชิญยมเทพมาประทานโอรส เนื่องจากต้องการให้โอรสของพระองค์เพรียบพร้อมไปด้วยความเที่ยงธรรม
วายุเทพเป็นบิดาของภีมะ ผู้ประทานพละกำลังที่ไม่มีใครชนะได้ พระนางกุนตีเชิญพระพายมาประทานโอรสคนที่สอง เนื่องจากต้องการให้โอรสของพระองค์เพรียบพร้อมไปด้วยพละกำลัง
NFT พิเศษที่เกิดจากการโหวตการสู้ตัวต่อตัวระหว่างกรรณะกับอรชุน
อรชุนเป็นลูกของพระอินทร์ที่ประทานให้พระนางกุนตี เป็นน้องชายของยุธิษเฐียรกับภีมะ และยังเป็นพี่ชายของนกุลกับสหเทพ เมื่อครั้งที่ได้เล่าเรียนกับโทรณาจารย์ ก็เป็นศิษย์ที่อาจารย์รักมากกว่าใคร เนื่องจากมีฝีมือการยิงธนูที่เก่งกาจ อรชุนไม่ถูกกับกรรณะเป็นพิเศษ ถึงขั้นที่ต่างฝ่ายต่างสาบานว่า จะฆ่าฝ่ายตรงข้ามเสียให้ได้
กรรณะเป็นบุตรที่พระนางกุนตีกับพระอาทิตย์ ในครั้งที่กรรณะเกิด มีเสื้อเกราะและตุ้มหูติดกายมาด้วย เมื่อพระนางกุนตีไม่สามารถเลี้ยงดูกรรณะได้ จึงนำกรรณะไปทิ้งที่แม่น้ำ จนนายสารถีและนางราธา มาเก็บไปเลี้ยงจึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า ราธียะ หรือลูกของนางราธา กรรณะมีความเก่งกาจด้านวิชายิงธนูไม่แพ้อรชุน และคอยหาโอกาสประลองเพื่อชิงความเป็นหนึ่งกัน
ในวันที่ 15 กองทัพปาณฑพวางแผนจะฆ่าโทรณาจารย์ให้ได้ ภีมะจึงฆ่าช้างที่มีชื่อเดียวกับลูกชายของโทรณาจารย์ชื่อ อัศวถามา แล้วปล่อยข่าวว่าอัศวถามา ตายแล้ว เมื่อข่าวได้ยินถึงโทรณาจารย์ โทรณาจารย์ก็ไม่เชื่อจึงถามย้ำกับยุธิษเฐียรว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ ยุธิษเฐียรซึ่งตามปกติไม่เคยกล่าวคำโกหกเลยในชีวิต ก็ตอบว่าอัศวถามาตายแล้วจริงๆ เมื่อได้ยินคำตอบของยุธิษเฐียร โทรณาจารย์ก็เสียใจมาก จึงวางอาวุธลงและนั่งบำเพ็ญตบะเพื่อหลุดพ้น จึงเปิดโอกาสให้ธฤษฏะทยุมันเข้าถึงตัวและใช้อาวุธตัดคอโทรณาจารย์ได้ในที่สุด
เมื่อครั้งที่กองทัพเการพยกทัพมาตีเมือง เจ้าชายอัตรารับอาสานำกองกำลังไปต้าน โดยมีอรชุนในร่างของกระเทยชื่อพฤหันนลาเป็นสารถี แต่พอเจ้าชายอัตราได้เห็นกองทัพของเการพที่นำโดยท้าวภีษมะผู้ยิ่งใหญ่ก็เกิดความกลัว ไม่กล้าจะรบด้วยและอยากหนีกลับเมือง ท้ายที่สุดต้องให้พฤหันนลารบแทน โดยที่เจ้าชายอัตราสลับหน้าที่มาเป็นสารถีแทน
ในวันที่ปาณฑพได้ทำพิธีราสูญะ และมีกฤษณะเป็นประธานในพิธี ท้าวศิศุปาละได้ถือโอกาสด่าว่า ดูถูกกฤษณะเป็นอย่างมาก แต่กฤษณะก็ต้องอดทนตามสัญญาที่ให้ไว้ แต่พอครบ 100 ครั้ง กฤษณะก็เรียกจักรสุทัศน์มาตัดคอท้าวศิศุปาละจนตายในที่สุด
ในวันที่ 14 ระหว่างที่ภูริศรวัสทำหน้าที่ป้องกันชัยทรัถอยู่นั้น สาตยกีได้มาท้ารบ ต่างฝ่ายต่างสู้รบกันจนอาวุธพังทั้งคู่ จึงสู้กันต่อด้วยมือเปล่า สาตยกีถูกภูริศรวัสอัดจนสลบไป ในระหว่างที่ภูริศรวัสกำลังจะตัดคอของสาตยกีที่สลบไสลไม่ได้สติ อรชุนก็เข้ามาแทรกและยิงธนูตัดมือของภูริศรวัสทิ้ง อรชุนด่าว่าภูริศรวัสเรื่องที่ทำร้ายคนที่ไม่ได้สติ และเรื่องที่ฝ่ายเการพรุมกันฆ่าอภิมันยุ ภูริศรวัสรู้สึกสำนึกผิดจึงนั่งบำเพ็ญโยคะเพื่อหลุดพ้น ในจังหวะนั้นเองสาตยกีได้สติขึ้นมา จึงวิ่งมาตัดหัวของภูริศรวัสออกโดยที่อรชุนไม่ทันได้ห้ามปราม
ในการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรในวันที่ 17 ซึ่งเป็นวันที่กรรณะตัดสินใจจะฆ่าอรชุนให้ได้ กรรณะได้ปรึกษากับกองทัพเการพและเห็นว่าการที่จะชนะอรชุนได้นั้น จำเป็นจะต้องมีสารถีผู้มีความสามารถในการบังคับรถม้าเป็นเลิศ กรรณะจึงขอให้ท้าวศัลยะผู้มีความเก่งกาจในการบังคับรถม้ามาเป็นสารถีให้ตน ในตอนแรกท้าวศัลยะไม่ยอม แต่เมื่อทุรโยธน์เกลี้ยกล่อมก็ยอมทำตามแต่โดยดี
โทรณาจารย์เคยให้สัญญากับอรชุนว่าจะสอนให้อรชุนเป็นนักธนูที่เก่งกาจไม่มีใครเทียบ แต่เมื่อทั้งสองได้เห็นเอกลัพท์ผู้มีผีมือธนูเก่งกาจขนาดที่อรชุนก็ไม่สามารถเทียบได้ อรชุนก็ได้ตำหนิโทรณาจารย์ว่าทำไม่ถูกต้องที่สอนให้เอกลัพท์เก่งกว่าตน โทรณาจารย์ได้ยินดังนั้นก็ขอให้เอกลัพท์ทำคุรุทักษิณา คือ การทำตามคำร้องขอของอาจารย์ ด้วยการให้เอกลัพท์ตัดนิ้วหัวแม่โป้งออกเสีย เอกลัพท์ได้ยินดังนั้นก็ทำการตัดนิ้วหัวแม่โป้งในทันที ทำให้เอกลัพท์ไม่สามารถยิงธนูได้อีก เป็นการตัดทางคู่แข่งของอรชุน และเน้นย้ำให้เห็นว่าในบรรดาศิษย์ทั้งหมด โทรณาจารย์รักอรชุนเป็นที่สุด
สมัยเด็กท้าวทรุปัทเรียนอยู่ที่เดียวกับโทรณาจารย์ ทั้งสองสนิทกันมาก ก่อนที่จะเรียนจบและแยกย้ายกันไปท้าวทรุปัทได้ให้สัญญากับโทรณาจารย์ว่าเมื่อใดที่ตกระกำลำบากให้ไปหาได้ทันที เมื่อผ่านเวลาไปประมาณหนึ่ง โทรณาจารย์มีภรรยาและลูก มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นมาก จึงนึกถึงคำสัญญาที่ท้าวทรุปัทเคยให้ไว้ตอนยังเด็ก แต่เมื่อบากหน้าไปพบท้าวทรุปัท ทุกอย่างกลับตาลปัตร ท้าวทรุปัทนึกรังเกียจและไม่ยอมต้องรับโทรณาจารย์ โทรณาจารย์เก็บความแค้นเอาไว้ในใจ เดินทางไปราชสำนักหัสตินาปุระและพร่ำสอนเหล่าเด็กเการพและปาณฑพ เมื่อสำเร็จวิชาโทรณาจารย์ก็ขอให้เการพและปาณฑพยกทัพมายึดเมืองของท้าวทรุปัท ท้าวทรุปัทรบแพ้กองทัพของอรชุนก็นึกเสียใจว่าทำไมเราถึงไม่มีโอรสที่เก่งกาจเช่นอรชุนบ้าง จึงได้ทำพิธีขอลูกเพื่อให้เกิดมาล้างแค้นแทนตนชื่อว่า ธฤษฏะทยุมัน และพระธิดาชื่อเทราปที (ซึ่งในอนาคตจะเป็นภรรยาของอรชุนและปาณฑพ)
เมื่อครั้งที่ท้าวศานตนุได้เจอกับพระแม่คงคานั้น ได้ให้สัญญาไว้ว่า จะไม่โกรธไม่เกลียดและจะไม่ซักถามเกี่ยวกับสิ่งที่พระแม่คงคาทำทั้งสิ้น หลังจากอยู่กินกับพระแม่คงคาได้ไม่นาน ก็ได้พระโอรสออกมาหนึ่งพระองค์ ท้าวศานตนุดีใจมาก แต่เมื่อจะเสด็จไปหาพระแม่คงคา ปรากฏว่าพระนางนั้นไม่อยู่กับที่ประทับ และกลับทิ้งพระโอรสลงไปในแม่น้ำ โดยทำอย่างนี้กับพระโอรสถึงเจ็ดพระองค์ด้วยกัน แต่เมื่อพระแม่คงคาได้ให้ประสูติพระโอรสองค์ที่แปดออกมาท้าวศานตนุก็ทนไม่ไหวและซักถามพระแม่คงคา พระนางจึงตรัสบอกกับพระองค์ว่าจะนำพระโอรสองค์ที่ 8 (ซึ่งแท้ที่จริงก็คือเทพทยุ ของเหล่าคณะเทพวสุ ที่ถูกสาปให้ลงมาชดใช้กรรมที่พยายามขโมยแม่โคนันทินี) ไปเลี้ยงดูเอง เมื่อทารกเติบใหญ่ได้กลับมาอยู่กับพระราชาศานตนุ มีชื่อว่า "เจ้าชายเทวพรต" ซึ่งจะโตมาเป็น "ท้าวภีษมะ" นักรบผู้ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา
ในตอนที่ฤาษีวยาสต้องการจะรจนาเรื่องราวของมหากาพย์มหาภารตะนี้ขึ้น แต่ยังขาดผู้ที่จะคอยจดบันทึกให้ พระพรหมจึงแนะนำว่า พระคเณศ ซึ่งเป็นผู้มีปัญญา และสามารถเขียนได้อย่างรวดเร็ว โดยการนี้ฤาษีวยาสจึงเดินทางไปขอให้พระคเณศช่วยเหลือ พระคเณศตอบรับ และวางเงื่อนไขไว้ข้อหนึ่งว่า "เมื่อใดก็ตามที่ข้าพเจ้าลงมือเขียน ท่านจะต้องบอกเล่าโดยไม่สามารถหยุดได้" ฤาษีวยาสจึงรับคำ โดยบอกว่า "สิ่งที่พระคเณศจดนั้น จะต้องเข้าใจเสียก่อน" นั้นจึงทำให้ฤาษีวยาสมีเวลาพัก ระหว่างที่พระคเณศพยายามทำความเข้าในใจเรื่องราวบางช่วงบางตอนที่ดูจะยาก และซับซ้อน
"ท้ายที่สุดท้าวภีษมะ ก็ได้ปลดเปลื้องภาระที่แบกบนบ่าเสียที"
ในวันที่ 10 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อ [ศิขัณฑิน] เผชิญหน้ากับภีษมะทำให้ภีษมะวางอาวุธลง ไม่ยอมสู้กับ [ศิขัณฑิน] จึงเป็นโอกาสให้ [อรชุน] ยิงศรเพื่อปลิดชีวิตของท้าวภีษมะ
"[อรชุน] สาบานไว้ว่าจะฆ่าชัยทรัถให้ได้ภายในการรบวันที่ 14 เพื่อล้างแค้นให้ [อภิมันยุ]"
ในวันที่ 14 กองทัพเการพจัดกระบวนทัพอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันชัยทรัถจาก [อรชุน] จนแล้วจนเล่าใกล้จะสิ้นวัน ขณะที่พระอาทิตย์กำลังจะตก [อรชุน] ก็ไม่สามารถฆ่าชัยทรัถได้จนกระทั่งพระ [กฤษณะ] เรียกจักรสุทรรศน์มาบดบังพระอาทิตย์ทำให้กองทัพเการพเข้าใจผิดว่าหมดเวลาสู้รบแล้ว [อรชุน] จึงได้แผลงศรเพื่อตัดหัวของชัยทรัถออกจากร่าง
"อภิมันยุ ถูกรุมสังหารโดยแม่ทัพชื่อดังของฝ่ายเการพ อย่างโหดเหี้ยม"
ในวันที่ 13 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร อภิมันยุนำกองทัพปาณฑพบุกกระบวรทัพจักรพยุหะ แต่ระหว่างบุกทะลวงไปเกิดท้าว [ชัยทรัถ] มาป้องกันทัพปาณฑพเอาไว้ ทำให้อภิมันยุติดอยู่ท่ามกลางวงล้อมของแม่ทัพฝ่ายเการพ และ [โทรณาจารย์] ผู้บัญชาการรบในวันนั้นก็สั่งให้แม่ทัพทั้งหลายรุมทำร้ายอภิมันยุจนถึงแก่ความตาย
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต คำสาปก็กลับมาทำร้ายกรรณะจนพบจุดจบ"
ในวันที่ 17 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ในจังหวะที่คับขันรถม้าของกรรณะเกิดติดหล่ม ไม่สามารถไปต่อได้ [อรชุน] จึงอาศัยจังหวะนั้นยิงศรเพื่อฆ่า [กรรณะ] ซะ
"การตายของฆโฎตกัจ ทำให้ฝ่ายปาณฑพชนะศึก" ฆโฎตกัจถูก [กรรณะ] ใช้หอกวาสุวีศักติซึ่งได้รับจาก [พระอินทร์] ซึ่งใช้ได้ครั้งเดียวทำให้ไม่มีอาวุธที่จะเอาไว้สู้กับ [อรชุน] อีกต่อไป
"บทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า"
ในวันแรกของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร [อรชุน] ไม่อาจตัดใจเริ่มสงครามได้ เนื่องจากฝ่ายเการพก็เป็นประหนึ่งญาติพี่น้อง พระ [กฤษณะ] จึงได้แสดงภควัตคีตา เพื่ออธิบายให้ [อรชุน] เข้าใจว่าต้องทำสงครามเพื่อความชอบธรรม