"บิดาของ [กรรณะ] ผู้ประทานกวจะ (เสื้อเกราะ) และกุณฑล (ตุ้มหู) ให้กับ [กรรณะ] เพื่อปกป้องดูแล" [กรรณะ] เองแม้ไม่ทราบว่าพระอาทิตย์เป็นบิดา แต่ยังคงบูชาพระอาทิตย์อยู่ทุกวัน และยังปฏิญาณว่า ทุกๆ วันเวลาเที่ยง เขาจะอนุญาตให้ประชาชน มารับบริจาคทานจากเขา โดยไม่มีครั้งใดที่เขา จะให้ใครกลับบ้านมือเปล่า ในวันที่ 17 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรที่ [กรรณะ] ถูก [อรชุน] ฆ่าตาย แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลามืด แต่แสงแดดก็อ่อนลงในทันที เหมือนว่าจะไว้อาลัย ให้กับความตายของ [กรรณะ] นั่นเอง
"ความริษยาของทุรโยธน์ที่มีต่อภารดาปาณฑพ เป็นบ่อเกิดแห่งสงครามจนสูญสิ้นตระกูล"
ทุรโยธน์ เป็นลูกของท้าว [ธฤตราษฏร์] และพระนาง [คานธารี] เป็นพี่ใหญ่ มีน้องชาย 99 คน และมีน้องสาวอีก 1 คน ทุรโยธน์ มีความอิจฉาภารดาปาณฑพ และเฝ้าหาหนทางในการทำลายอยู่ตลอด ในครั้งที่ทุรโยธน์กับ [ยุธิษเฐียร] เล่นสกาเพื่อพนันชิงบ้านเมือง ทุรโยธน์ได้ใช้ให้ [ศกุนิ] โกงการเล่น ส่งผลให้ภารดาปาณฑพและพระนางเทราปทีต้องถูกเนรเทศ 13 ปี ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ทุรโยธน์ถือเป็นผู้นำของกองทัพเการพ และในตอนท้ายของสงคราม ทุรโยธน์ประลองกับ [ภีมะ] และถูกฟาดกระบองเข้าที่หน้าตักจนตาย
"โอรสแห่ง [พระยม] ผู้ตั้งอยู่บนหลักธรรมเสมอ"
ยุธิษเฐียรถือว่าเป็นโอรสของท้าว [ปาณฑุ] กับพระนาง [กุนตี] แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นบุตรที่เกิดจากการที่พระนาง [กุนตี] สวดมนต์ เชิญ [พระยม] มาประทานบุตร ยุธิษเฐียรถือว่าเป็นพี่ชายคนโตของภารดาปาณฑพ เป็นผู้โดดเด่นด้านความยุติธรรม ตั้งอยู่ในหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา วันหนึ่ง [ทุรโยทน์] และ [ศกุนิ] ได้ท้าพนันสกากับยุธิษเฐียร เป็นเหตุให้ยุธิษเฐียรเสียพนันทุกสิ่งทุกอย่าง รวมถึงเดิมพันน้องๆ ทั้งหลายให้เป็นทาส จนท้ายที่สุดเหตุการณ์ยุติ และพวกปาณฑพต้องถูกเนรเทศ 13 ปี ยุธิษเฐียร เป็นผู้มีความยุติธรรม จนแม้กระทั่งราชรถของยุธิษเฐียรยังลอยอยู่เหนือพื้นหนึ่งคืบ เนื่องจากไม่ควรต้องมัวหมองด้วยมลทินฝุ่นผง
"อวตารหนึ่งใน 19 อวตารของพระศิวะ"
อัศวัตถามาเป็นลูกชายของ [โทรณาจารย์] ผู้ติดสอยห้อยตามพ่อมาอยู่ในราชสำนักหัสตินาปุระ ถือว่าเป็นอวตารหนึ่งของพระศิวะ อัศวัตถามาเกิดมาพร้อมอัญมณีที่กลางหน้าผาก ทำให้มีอำนาจเหนือทุกสิ่งที่ต่ำกว่ามนุษย์ และป้องกันความหิวโหยและความเหนื่อยล้าอีกด้วย อัศวัตถามาเข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร โดยอยู่ฝั่งเการพ เนื่องจากเป็นเพื่อนกับ [ทุรโยธน์] ในช่วงสงครามในวันที่ 15 หลังจากที่อัศวัตถามาทราบว่า [โทรณาจารย์] เสียชีวิต ก็เกิดความแค้น จึงแผลงศรนารายณ์ศาสตร์ ซึ่งเป็นอาวุธศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับประทานมาจากพระนารายณ์ บังเกิดเป็นกงจักรเข้าจัดการกองทัพปาณฑพ แต่ด้วยคำแนะนำจากพระ [กฤษณะ] ทำให้เองทัพ ปาณฑพรอดชีวิตจากศรนารายศาสตร์ได้ ในตอนท้ายของสงคราม เมื่อ [ทุรโยทน์] ได้ตายลง อัศวัตถามาได้ลอบเข้าค่ายของปาณฑพและฆ่า [ศิขัณฑิน] และลูกๆ ของเหล่าปาณฑพที่เกิดกับพระนาง [เทราปที] แถมยังพยายามแผลงศรพรหมเศียรใส่นางสุภัทรา ภรรยาของ [อรชุน] ที่กำลังตั้งครรภ์ ทำให้พระ [กฤษณะ] โกรธมากและใช้จักรสุทรรศนะ ตัดอัญมณีที่หน้าผากของอัศวัตถามา และสาปให้อัศวัตถามาต้องเร่ร่อน อยู่ตามลำพัง ร่างกายเน่าเปื่อยและไม่มีวันตายตลอดไป
"บรมครูผู้สอนศิลปะการรบ แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ"
โทรณาจารย์ หรือโทรณะ เป็นอาจารย์สอนวิชาอาวุธของเหล่าเการพ และปาณฑพ เมื่อครั้งยังเด็ก ระหว่างที่เล่าเรียนนั้น โทรณะได้มีเพื่อนรักชื่อทรุปัท หลังจากเล่าเรียนสำเร็จ ก่อนจากกันทรุปัทได้บอกโทรณะว่า เมื่อใดก็ตามที่ต้องการความช่วยเหลือให้มาหาได้ทันที เวลาผ่านไปไม่นาน จนโทรณะแต่งงานมีลูกชาย 1 คนชื่อ [อัศวัตถามา] มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น โทรณะนึกถึงคำพูดที่เพื่อนเคยบอกไว้ จึงบากหน้าเดินทางไปพบทรุปัท แต่ทรุปัทปฏิเสธการช่วยเหลือ และแสดงทีท่ารังเกียจ ทำให้โทรณะแค้นใจมาก จึงเดินทางมาที่ราชสำนักหัสตินาปุระ สมัครเป็นอาจารย์สอนเหล่าเการพและปาณฑพ โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อจบการศึกษา จะต้องทำสงครามกับท้าวทรุปัทเพื่อแก้แค้นให้ โทรณาจารย์เข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรในฝั่งเการพ และในวันที่ 15 ได้ถูกธฤษฏัทยุมนะ โอรสของท้าวทรุบท ตัดหัว ตามคำสาบานที่ให้ไว้ว่าจะเกิดมาเพื่อฆ่าโทรณะ
"เสาหลักผู้ค้ำจุนราชวงศ์กุรุ"
ท้าวภีษมะ เดิมชื่อเจ้าชายเทวพรต เป็นลูกของพระราชาศานตนุกับพระแม่คงคา เมื่อได้กล่าวคำสาบานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับราชบัลลังค์ และจะไม่แต่งงาน จึงได้ชื่อใหม่ว่าภีษมะ ทั้งยังได้รับพรจากพระราชาศานตนุ ว่าจะให้สามารถ มีชีวิตยืนยาวจนถึงวันที่ยินยอมพร้อมตายเองถึงจะตายได้ ท้าวภีษมะเคยมีเรื่องราวกับพระนาง [อัมพา] จนทำให้พระนางถึงขนาดสาบาน ว่าจะกลับชาติมาเกิดเพื่อเป็นต้นเหตุแห่งความตายของท้าวภีษมะ ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ท้าวภีษมะเป็นผู้บัญชาการของกองทัพเการพ ทั้งที่ไม่เต็มใจนัก เพราะอีกฝั่งก็เป็นหลานของตนเองเช่นเดียวกัน จึงบอกว่าจะเข้าร่วมสงครามโดยไม่สังหารพวกปาณฑพเด็ดขาด
"ดาวเด่นของกองทัพปาณฑพ ผู้สิ้นแสงก่อนวัยอันควร"
อภิมันยุเป็นลูกของ [อรชุน] กับพระนางสุภัทรา น้องสาวของ [กฤษณะ] อภิมันยุเก่งกาจในการยิงธนูเทียบเท่า [อรชุน] เข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรในกองทัพปาณฑพ ในวันที่ 13 ของสงคราม อภิมันยุได้ฝ่ากระบวนทัพของเการพ และติดอยู่ในวงล้อมของกองกำลังเการพ ท้ายที่สุดก็โดนรุมสังหารโดยคำสั่งของ [โทรณาจารย์]
"โอรสฝาแฝดของเทพอัศวิน ผู้มีความชำนาญในการปุศสัตว์"
สหเทพเป็นลูกที่เกิดจากพระนาง [มาทรี] ซึ่งได้เรียนรู้มนต์จากพระนาง [กุนตี] พระนางสวดเรียกเทพอัศวิน ซึ่งเป็นเทพฝาแฝด เพื่อประทานโอรสฝาแฝดให้แก่พระนาง ตั้งชื่อว่า [นกุล] และ สหเทพ
"โอรสฝาแฝดของเทพอัศวิน ผู้มีความชำนาญในการรบบนหลังม้า"
นกุลเป็นลูกที่เกิดจากพระนาง [มาทรี] ซึ่งได้เรียนรู้มนต์จากพระนาง [กุนตี] พระนางสวดเรียกเทพอัศวิน ซึ่งเป็นเทพฝาแฝด เพื่อประทานโอรสฝาแฝดให้แก่พระนาง ตั้งชื่อว่า นกุล และ [สหเทพ]
"โอรสแห่่ง [พระพาย] และน้องชายของ [หนุมาน]"
ภีมะเป็นลูกคนรองที่เกิดจากพระนางกุนตีสวดมนต์เรียกพระพายมาประทานบุตรให้ เกิดวันเดือนปี เดียวกันกับ [ทุรโยทน์] ในครั้งที่ [ทุหศาสัน] จิกหัวพระนาง [เทราปที] และพยายามถอดผ้าของพระนาง ภีมะโกรธแค้นจนสาบานว่าจะต้องฆ่า [ทุรโยทน์] ด้วยการเอากระบองฟาดที่หน้าตัก และจับ [ทุหศาสัน] แหกอกและดื่มเลือดจากอกให้ได้ ภีมะมีลูกชายกับนางยักษ์หิทิมพี ชื่อว่า [ฆโฏตกัจ] ซึ่งปรากฏตัวมาช่วยรบในสงคราม ที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย
"พระนางผู้เป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร"
พระนางเทราปที เป็นธิดาของท้าวทรุบท เมื่อครั้งที่ [อรชุน] ยกทัพไปรพกับท้าวทรุบท ตามคำขอของ [โทรณาจารย์] ท้าวทรุบท สวดมนต์ขอลูกที่มีความเก่งกาจ ฤาษีจึงประทานลูกชายชื่อ ธฤษฏัทยุมนะ และธิดาชื่อเทราปที เมื่อครั้งที่ท้าวทรุบทจัดพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที [อรชุน] เป็นผู้ชนะและได้รับเลือกเป็นสวามี เมื่อ [อรชุน] พาพระนางเทราปทีกลับที่พัก พระนาง [กุนตี] ยังไม่ทันจะหันมามองก็บอกให้ [อรชุน] นำสิ่งที่ได้มาแบ่งพี่น้องทุกคน คนละเท่าๆ กัน จึงเป็นเหตุให้พระนางเทราปที ต้องเป็นภรรยาของเหล่าปาณฑพทั้ง 5 คน ครั้งที่พระนางถูกลากออกมาเพื่อประจานโดย [ทุหศาสัน] เป็นเหตุให้ภารดาปาณฑพโกรธมากและต้องการทำสงครามเพื่อแก้แค้น
"ลูกชายภีมะ ผู้ซึ่งเกิดมาก็โตเลย"
ฆโฏตกัจเป็นลูกของ [ภีมะ] กับนางรากษสหิทิมพี ในศึกที่ทุ่งกุรุเกษตร ฆโฏตกัจปรากฏตัวเพื่อเข้าร่วมฝั่งปาณฑพ และเป็นแม่ทัพคนสำคัญ ในการจัดการกับอลัมพุษะและอลายุธ ในการศึกวันที่ 14 ซึ่งมีการรบยาวนานจนถึงตอนกลางคืน ฆโฏตกัจได้สังหารกองทัพเการพมากมาย จน [ทุรโยธน์] ต้องสั่งให้ [กฤษณะ] นำหอกวาสวีศักติ ที่ตั้งใจจะเก็บไว้สังหาร [อรชุน] มาใช้สังหารฆโฏตกัจ ก่อนสิ้นใจฆโฏตกัจขยายตัวให้ใหญ่ที่สุด ลัมทับกองทัพเการพไปถึง 1 อัคเษาหิณี
"มารดาแห่งภารดาปาณฑพ"
พระนางกุนตี เดิมทีชื่อ ปฤถา แต่พระราชาแคว้นกุนตีโภช ผู้ไม่มีโอรสธิดาได้ขอไปเลี้ยง และเปลี่ยนชื่อเป็นกุนตี เมื่อครั้งยังเด็กพระนางกุนตีได้คอยรับใช้ปรนนิบัติฤาษีทุรวาส จนเป็นที่พอใจ ฤาษีทุรวาสจึงได้สอนมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ วันหนึ่งพระนางได้ลองท่องมนต์ทดลองเชิญ [พระอาทิตย์] ด้วยความที่นางยังเด็กและไม่ต้องการบุตร แต่มนต์วิเศษไม่สามารถยกเลิกได้ [พระอาทิตย์] จึงประทานบุตรให้แก่พระนาง โดยที่ยังไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว นางจึงนำทารกใส่ตะกร้าไปทิ้งแม่น้ำ มีสารถีคนหนึ่งมาพบทารกและตั้งชื่อบุตรว่า [กรรณะ]
"ลูกเต๋าจะฟังคำสั่งข้า"
ศกุนิเป็นพี่ชายของพระนาง [คานธารี] เมื่อครั้งที่พระนางอภิเษก ก็ย้ายตามพระนางมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ด้วยความที่ศกุนิไม่พอใจที่พระนาง [คานธารี] ต้องแต่งงานกับพระราชาตาบอด จึงวางแผนทำลายราชสำนักหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมีลูกเต๋าที่พกติดตัวอยู่เสมอ ว่ากันว่า ศกุนินำอัฐิของบิดามาทำเป็นลูกเต๋า ลูกเต๋าจึงเชื่อฟังศกุนิเสมอ ศกุนิวางแผนให้ [ทุรโยทน์] เป็นใหญ่ โดยยุยงให้ [ทุหศาสัน] วางยา [ภีมะ] สมัยเด็ก ลอบวางเพลิงเหล่าปาณฑพ และเล่นโกงสกาเป็นเหตุให้ปาณฑพถูกเนรเทศ 13 ปี
"ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย"
พระนางคานธารี มีพี่ชายชื่อ [ศกุนิ] เมื่อพระนางทราบว่าต้องแต่งงานกับท้าว [ธฤตราษฏร์] ผู้ตาบอด นางได้ใช้ผ้าผูกตาให้มิดชิดเหมือนชีวิตของสวามี พระนางคานธารี มีโอรสทั้งสิ้น 100 คน โดยมี [ทุรโยธน์] เป็นพี่ใหญ่ ซึ่งมีนิสัยเลวทราม หลังจากจบสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ลูกชายของพระนางเสียชีวิตทั้งหมด ด้วยความโกรธแค้น นางจึงสาปให้พระ [กฤษณะ] ต้องประสบเคราะห์กรรมเดียวกัน ญาติพี่น้องฆ่าฟันกันเอง
"พระราชาตาบอด ไม่เท่าใจบอด"
ท้าวธฤตราษฏร์เป็นโอรสของฤษีวยาสกับพระนางอัมพิกา ซึ่งเกิดจากพิธีนิโยค ในพิธีนิโยค พระนางอัมพิการู้สึกขยะแขยงฤาษีวยาสจึงหลับตาตลอดทั้งพิธี ส่งผลให้ลูกของนางที่เกิดมาจะต้องตาบอด ท้าวธฤตราษฏร์เป็นพี่ชายของ ท้าว [ปาณฑุ] และมีพระชายา 1 พระองค์ คือ [คานธารี] แม้ท้าวธฤตราษฏร์จะครองราชสมบัติแทนท้าว [ปาณฑุ] แต่ก็มีใจริษยาท้าว [ปาณฑุ] อยู่เสมอ หลังจากที่ท้าว [ปาณฑุ] เสียชีวิต เหล่าปาณฑพและพระนาง [กุนตี] ก็ได้เดินทางกลับเมือง ท้าวธฤตราษฏร์ ตัดสินเรื่องราวใดๆ ที่เกิดในเมืองเอนเอียงเข้าข้างบุตรชาย [ทุรโยธน์] และคอยสนับสนุนเรื่องร้ายๆ ที่ทำ ในระหว่างสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ท้าวธฤตราษฏร์ได้คนขับรถม้าชื่อ สัญชัย คอยเล่าสถานการณ์ในการศึกให้ฟังอยู่ตลอดเวลา
"ผู้นำความตายสู่ภีษมะ"
แต่เดิมเจ้าหญิงอัมพา ถูกชิงตัวมาจากพิธีเลือกคู่โดย ท้าว [ภีษมะ] พร้อมกับพระนางอัมพิกา และอัมพิลิกา ท้าว [ภีษมะ] มารู้ทีหลังว่าพระนางอัมพา มีใจให้พระราชาศาลวะ จึงปล่อยตัวให้พระนางกลับไปหาพระราชาศาลวะ แต่ทางพระราชาศาลวะไม่ต้องการตัวพระนางเพราะมองว่าเป็นสมบัติของท้าว [ภีษมะ] เนื่องด้วยท้าว [ภีษมะ] เคยเอ่ยคำสาบานว่าจะไม่แต่งงาน จึงไม่ยอมแต่งงานกับพระนางอัมพา ส่งผลให้พระนางแค้นท้าว [ภีษมะ] เป็นอย่างมาก และเดินทางไปทั่วเพื่อหาคนที่สามารถฆ่าท้าว [ภีษมะ] ได้ เมื่อไม่สามาถหาได้ นางจึงบำเพ็ญตบะแด่พระขันธกุมาร พระขันธกุมารได้มอบพวงมาลัยที่ไม่ว่าใครสวมจะเป็นผู้ที่สามารถฆ่าท้าว [ภีษมะ] ได้ แต่ก็ยังไม่มีพระราชาองค์ใด ยอมสวมพวงมาลัย พระนางอัมภาจึงแขวนพวงมาลัยไว้หน้าเมือง และสวดมนต์ขอพรพระศิวะ ให้ตนเกิดใหม่มาเป็นคนที่จะนำความตายมาสู่ท้าว [ภีษมะ] และกระโดดเข้ากองไฟ ไปเกิดใหม่เป็น ศิขัณฑิน
"น้องชายสุดรักของ [ทุรโยธน์]"
ทุหศาสัน เป็นน้องชายของทุรโยธน์ บุตรของท้าวธฤตราษฏร์ และพระนางคานธารี
ในครั้งที่ยุธิษเฐียรพนันสกากับทุรโยธน์และศกุนิ การพนันเป็นไปอย่างยาวนาน ยุธิษเฐียรแพ้พนันจนเสียทรัพย์สินและบ้านเมืองทั้งหมด จนยุธิษเฐียร หน้ามืดนำเอา ตัวเองและน้องๆ ทั้งหมดมาเป็นเดิมพัน แต่ก็ยังเสียพนันจนหมด
ในที่สุดก็นำ พระนางเทราปทีมาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสัน ไปนำตัวพระนางเทราปทีจากที่พักมา และเปลื้องผ้าของนางออก พระนางเทราปที ได้ขอให้พระ กฤษณะเนรมิตให้ผ้ายืดออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันพยายามดึงผ้าเท่าไหร่ก็ไม่เห็นทีท่าว่าผ้าจะหมดจากกายนาง จนหมดแรงไปเอง
"มารดาแห่งนกุลและสหเทพ"
พระนางมาทรี เป็นพระขนิษฐาของราชาศัลยะ และได้แต่งงานกับ ท้าวปาณฑุ เนื่องด้วยท้าวปาณฑุไม่สามารถมีลูกได้ พระนางกุนตี จึงได้สอนมนต์วิเศษ เพื่อเรียกเทวดามาให้กำเนิดลูก
พระนางมาทรี สวดมนต์เรียกเทพอัศวิน มาประทานโอรสฝาแฝด ชื่อนกุล และสหเทพ
วันหนึ่งท้าวปาณฑุเกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรี คำสาปก็มีผลทันที ส่งผลให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจ พระนางมาทรีเศร้าเสียใจ จึงตัดสินใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามไปด้วย
"ผู้ได้รับพรให้สามารถเอาชนะเหล่าปาณฑพได้ 1 วัน"
ท้าวชัยทรัถได้สมรสกับทุหศาลา ซึ่งเป็นน้องสาวของทุรโยธน์ เมื่อครั้งที่เหล่าปาณฑพแพ้พนันสกาและถูกเนรเทศไปอยู่ป่า 12 ปี ท้าวชัยทรัถซึ่งมีจิตสเน่หาต่อพระนางเทราปที ได้พยายามฉุดคร่าพระนางขึ้นรถม้า แล้วนำกลับแคว้น แต่โชคดีที่เหล่าปาณฑพมาช่วยได้ทัน แถมยังจับชัยทรัถโกนหัวให้เหลือเพียงผมห้าหย่อมก่อนปล่อยตัวไป
ท้าวชัยทรัถแค้นมากจึงบำเพ็ญตบะขอพรจากพระศิวะ ขอให้สามารถชนะเหล่าปาณฑพได้ 1 วัน
ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรวันที่ 13 ยุธิษเฐียรได้ขอให้อภิมันยุ นำทางทะลวงเข้ากองทัพเการพ แม้จะไม่รู้วิธีออก เมื่ออภิมันยุฝ่ากองทัพเข้าไปได้ ท้าวชัยทรัถก็นำทัพมารพกับเหล่าปาณฑพ ด้วยพรที่ได้รับจากพระศิวะ ทำให้ชัยทรัถสามารถตั้งรับสู้กับเหล่าปาณฑพได้ และส่งผลให้อภิมันยุตกอยู่ในวงล้อมของกองกำลังเการพ และถูกฆ่าตายในที่สุด
"บิดาแห่งภารดาปาณฑพ"
ท้าวปาณฑุเป็นโอรสของฤษีวยาสกับพระนางอัมพาลิกา ซึ่งเกิดจากพิธีนิโยค ท้าวปาณฑุเป็นน้องชายของ [ธฤตราษฏร์] และมีพระชายา 2 พระองค์ คือ [กุนตี] และ [มาทรี] ในระหว่างล่าสัตว์ท้าวปาณฑุพลั้งมือยิงกวางที่เป็นฤาษีสองสามีภรรยาตาย ก่อนตายฤาษีได้สาปให้เมื่อใดก็ตามที่ท้าวปาณฑุต้องการสมสู่กับหญิงผู้ใดก็ตาม จะต้องถึงแก่ความตาย วันหนึ่งท้าวปาณฑุเกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนาง [มาทรี] คำสาปก็มีผลทันที ส่งผลให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจ