"ผู้ที่ล่วงเกินกฤษณะได้ถึง 100 ครั้ง"
ตอนที่ท้าวศิศุปาละเพิ่งเกิด ปรากฏว่ามีสามตาสี่แขน จนเกือบถูกนำไปทิ้ง แต่มีเสียงสวรรค์บอกว่า จะมีผู้ที่สามารถทำให้ท้าวศิศุปาละกลับเป็นปกติได้เมื่อพระบิดาได้นำท้าวศิศุปาละไปเยี่ยมเยียนกฤษณะในฐานะญาติ เมื่อท้าวศิศุปาละได้นั่งบนตักของกฤษณะก็เกิดปาฏิหาริย์ให้ท้าวศิศุปาละกลับกลายเป็นคนปกติ พระบิดาจึงขอพรให้พระกฤษณะให้อภัยท้าวศิศุปาละ 100 ครั้ง พระกฤษณะก็ให้ตามนั้น เมื่อท้าวศิศุปาละได้ขึ้นเป็นพระราชา กฤษณะก็ได้ชิงตัวพระนางรุกขมินี คู่หมั้นของท้าวศิศุปาละไป ทำให้ท้าวศิศุปาละโกรธแค้นมาก ในวันที่ปาณฑพได้ทำพิธีราสูญะ และมีกฤษณะเป็นประธานในพิธี ท้าวศิศุปาละได้ถือโอกาสด่าว่า ดูถูกกฤษณะเป็นอย่างมาก แต่กฤษณะก็ต้องอดทนตามสัญญาที่ให้ไว้ แต่พอครบ 100 ครั้ง กฤษณะก็เรียกจักรสุทัศน์มาตัดคอท้าวศิศุปาละจนตายในที่สุด
"เจ้าหญิงผู้ถูกอรชุนลักพาตัว"
เจ้าหญิงสุภัทรา เป็นน้องสาวของกฤษณะ เมื่อครั้งที่อรชุนต้องเดินทางตามข้อตกลงที่ให้ไว้ กับพี่น้องปาณฑพ ก็ได้เดินทางไปอาศัยอยู่กับกฤษณะ ช่วงเวลาหนึ่ง เมื่ออรชุนได้เห็นเจ้าหญิงสุภัทราก็ตกหลุมรัก ในทันที อรชุนปรึกษากับกฤษณะ โดยที่กฤษณะแนะนำให้ อรชุนลักพาตัวเจ้าหญิงไป อรชุนก็ทำตาม ฝ่ายพลรามเมื่อรู้ ว่าเจ้าหญิงถูกอรชุนลักพาตัวไปก็พยายามติดตามช่วยเหลือ แต่ถูกกฤษณะห้ามเอาไว้ ท้ายที่สุดเลยตัดสินใจจัดพิธีสยุมพร ระหว่างเจ้าหญิงสุภัทรากับอรชุน
"ยักษ์ผู้ช่วยสร้างเมืองอินทรปรัศว์"
ในครั้งที่อรชุนเดินทางออกป่า ได้มีโอกาสได้ช่วยยักษ์ตนที่ชื่อว่า มายาสูร ให้รอดชีวิตจากการโดนพระอัคนีเผาป่า มายาสูรจึงอาสาสร้างเมืองอินทรปรัศว์ ให้มีความสวยงามวิจิตรเฉกเช่นเทวดามาสร้างไว้
"ผู้สู้สุดใจเพื่อพระนางอัมพา"
ท้าวศาลวะและพระนางอัมพามีความรักใคร่กันอยู่ก่อนแล้ว ในงานสยุมพรพระนางอัมพาก็ตั้งใจจะเลือกท้าวศาลวะเป็นพระสวามี แต่เหตุการณ์ไม่เป็นดั่งที่คิด เนื่องจากท้าวภีษมะเดินทางเข้ามาปล้นเจ้าสาว แม้ว่าท้าวภีษมะจะมีชื่อเสียงทางด้านความเก่งกาจ แต่ท้าวศาลวะก็ยังเข้าไปต่อสู้ด้วย เพื่อไม่ให้ท้าวภีษมะนำตัวเจ้าสาวไป แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ให้แก่ท้าวภีษมะอยู่ดี
"พระนางผู้มีผิวกายหอม"
พระนางสัตยวดี เดิมเป็นลูกของชาวประมง แรกเริ่มเดิมทีพระนางสัตยวดี มีผิวกายที่เหม็นกลิ่นคาวปลา เพราะเกิดมาจากท้องของปลา มีอยู่วันหนึ่งได้พบฤาษีปราศร ฤาษีได้ช่วยกลิ่นกายพระนางเปลี่ยนเป็นกลิ่นหอม แต่แลกกับการที่พระนางต้องยอมมีสัมพันธ์ด้วย วันหนึ่งพระนางได้พบกับท้าวศานตนุ และตกหลุมรักกันและกัน ท้าวศานตนุต้องยอมรับเงื่อนไขของบิดาของพระนางสัตยวดีที่ จะต้องให้โอรสที่เกิดจากพระนางขึ้นครองราชสมบัติ แทนราชบุตรเทวพรต
"ท้ายที่สุดท้าวภีษมะ ก็ได้ปลดเปลื้องภาระที่แบกบนบ่าเสียที"
ในวันที่ 10 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร เมื่อ [ศิขัณฑิน] เผชิญหน้ากับภีษมะทำให้ภีษมะวางอาวุธลง ไม่ยอมสู้กับ [ศิขัณฑิน] จึงเป็นโอกาสให้ [อรชุน] ยิงศรเพื่อปลิดชีวิตของท้าวภีษมะ
"[อรชุน] สาบานไว้ว่าจะฆ่าชัยทรัถให้ได้ภายในการรบวันที่ 14 เพื่อล้างแค้นให้ [อภิมันยุ]"
ในวันที่ 14 กองทัพเการพจัดกระบวนทัพอย่างแน่นหนาเพื่อป้องกันชัยทรัถจาก [อรชุน] จนแล้วจนเล่าใกล้จะสิ้นวัน ขณะที่พระอาทิตย์กำลังจะตก [อรชุน] ก็ไม่สามารถฆ่าชัยทรัถได้จนกระทั่งพระ [กฤษณะ] เรียกจักรสุทรรศน์มาบดบังพระอาทิตย์ทำให้กองทัพเการพเข้าใจผิดว่าหมดเวลาสู้รบแล้ว [อรชุน] จึงได้แผลงศรเพื่อตัดหัวของชัยทรัถออกจากร่าง
"อภิมันยุ ถูกรุมสังหารโดยแม่ทัพชื่อดังของฝ่ายเการพ อย่างโหดเหี้ยม"
ในวันที่ 13 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร อภิมันยุนำกองทัพปาณฑพบุกกระบวรทัพจักรพยุหะ แต่ระหว่างบุกทะลวงไปเกิดท้าว [ชัยทรัถ] มาป้องกันทัพปาณฑพเอาไว้ ทำให้อภิมันยุติดอยู่ท่ามกลางวงล้อมของแม่ทัพฝ่ายเการพ และ [โทรณาจารย์] ผู้บัญชาการรบในวันนั้นก็สั่งให้แม่ทัพทั้งหลายรุมทำร้ายอภิมันยุจนถึงแก่ความตาย
ในช่วงสุดท้ายของชีวิต คำสาปก็กลับมาทำร้ายกรรณะจนพบจุดจบ"
ในวันที่ 17 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ในจังหวะที่คับขันรถม้าของกรรณะเกิดติดหล่ม ไม่สามารถไปต่อได้ [อรชุน] จึงอาศัยจังหวะนั้นยิงศรเพื่อฆ่า [กรรณะ] ซะ
"การตายของฆโฎตกัจ ทำให้ฝ่ายปาณฑพชนะศึก" ฆโฎตกัจถูก [กรรณะ] ใช้หอกวาสุวีศักติซึ่งได้รับจาก [พระอินทร์] ซึ่งใช้ได้ครั้งเดียวทำให้ไม่มีอาวุธที่จะเอาไว้สู้กับ [อรชุน] อีกต่อไป
"บทเพลงแห่งพระผู้เป็นเจ้า"
ในวันแรกของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร [อรชุน] ไม่อาจตัดใจเริ่มสงครามได้ เนื่องจากฝ่ายเการพก็เป็นประหนึ่งญาติพี่น้อง พระ [กฤษณะ] จึงได้แสดงภควัตคีตา เพื่ออธิบายให้ [อรชุน] เข้าใจว่าต้องทำสงครามเพื่อความชอบธรรม
"รบเถิดอรชุน"
อรชุนเป็นลูกของพระอินทร์ที่ประทานให้พระนางกุนตี เป็นน้องชายของ [ยุธิษเฐียร] กับ [ภีมะ] และยังเป็นพี่ชายของ [นกุล] กับ [สหเทพ] เมื่อครั้งที่ได้เล่าเรียนกับ [โทรณาจารย์] ก็เป็นศิษย์ที่อาจารย์รักมากกว่าใคร เนื่องจากมีฝีมือการยิงธนูที่เก่งกาจ อรชุนไม่ถูกกับ [กรรณะ] เป็นพิเศษ ถึงขั้นที่ต่างฝ่ายต่างสาบานว่า จะฆ่าฝ่ายตรงข้ามเสียให้ได้ ก่อนเริ่มสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร อรชุนไม่สามารถตัดใจทำสงครามได้ เนื่องจากฝ่ายเการพก็เป็นเฉกเช่นญาติพี่น้อง จน [กฤษณะ] ต้องท่องบทสวดภควัตคีตา เพื่อเกลี้ยกล่อมให้อรชุนยอมทำสงครามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม อรชุนเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่และในประวัติการรบไม่เคยแพ้ใครเลยสักครั้งเดียว
"สุริยะบุตร ผู้มีชะตากรรมที่แสนอาภัพ"
กรรณะเป็นบุตรที่พระนางกุนตี ได้รับประทานจากพระอาทิตย์ ในครั้งที่กรรณะเกิด มีเสื้อเกราะและตุ้มหูติดกายมาด้วย เมื่อพระนางกุนตี นำกรรณะไปทิ้งที่แม่น้ำ จนนายสารถีและนางราธา มาเก็บไปเลี้ยงจึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า ราธียะ หรือลูกของนางราธา กรรณะมีความเก่งกาจด้านวิชายิงธนูไม่แพ้อรชุน และโดยแท้จริงแล้วต้องถือว่ากรรณะ เป็นพี่ใหญ่ของภารดาปาณฑพ แต่ไม่มีใครรู้เรื่องนั้น ยกเว้นแต่พระกฤษณะ เท่านั้น กรรณะสนิทสนมกับทุรโยธน์ และตั้งตัวเป็นศัตรูกับภารดาปาณฑพทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอรชุน และเข้าร่วมสงครามในฝั่งเการพ
ในวันที่ 17 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร กรรณะก็ถูกอรชุน ยิงศรอันชลิกะฆ่าตาย ในระหว่างที่ล้อรถติดหล่มโคลนอยู่
"มหาเทพย์ในร่างมนุษย์ ผู้ชี้นำของ [อรชุน]"
พระกฤษณะเป็นอวตารของพระวิศณุและ เป็นญาติฝ่ายมารดาของผ่ายปาณฑพ มีความสนิทสนมกับ [อรชุน] เป็นพิเศษ ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร พระกฤษณะให้คำสัญญาว่าจะไม่เข้าร่วมรบกับฝ่ายปาณฑพ แต่จะทำหน้าที่เป็นเพียงสารถีให้กับ [อรชุน] เท่านั้น ในระหว่างสงคราม ด้วยการชี้นำของพระกฤษณะ ทำให้ [อรชุน] ปราบแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ของฝ่ายเการพ และชนะสงครามในที่สุด
"ทหารเอกของพระราม ผู้จำแลงเป็นธงรถศึกให้กับ [อรชุน]"
แท้จริงแล้ว หนุมานเป็นพี่ชายต่างมารดากับ [ภีมะ] เนื่องจากเป็นบุตรของพระพายทั้งคู่ วันหนึ่ง [ภีมะ] เดินทางเข้าป่า พบกับลิงแก่ตัวหนึ่งนอนขวางทางอยู่ และท้าทายให้ [ภีมะ] ยกหางมันขึ้น [ภีมะ] ทำอย่างไรก็ยกไม่ขึ้นจึงยอมแพ้ ลิงจึงกลายร่างเป็นหนุมาน และให้พร [ภีมะ] ว่า ตนจะจำแลงเป็นธงรถศึกของ [อรชุน] เพื่อช่วยเหลือกองทัพปาณฑพ เพราะที่ใดมีธงรูปหนุมาน ที่นั่นจะประสบชัยชนะ
"บิดาของ [ภีมะ] ผู้ประทานพละกำลังที่ไม่มีใครชนะได้"
พระนาง [กุนตี] เชิญพระพายมาประทานโอรสคนที่สอง เนื่องจากต้องการให้โอรสของพระองค์เพรียบพร้อมไปด้วย พละกำลัง
"บิดาของ [ยุธิษเฐียร] ผู้เป็นต้นแบบแห่งความเที่ยงธรรม"
ในครั้งที่ท้าว [ปาณฑุ] ถูกสาปให้ไม่สามารถมีลูกได้ ได้ขอให้พระนาง [กุนตี] ใช้มนต์เพื่อเรียกเทพมาประทาน โอรสให้ พระนาง [กุนตี] นึกถึงพระยมเป็นองค์แรก เนื่องจากต้องการให้โอรสของพระองค์เพรียบพร้อมไปด้วย ความเที่ยงธรรม
"พราหมณ์ผู้สาบานว่าจะเป็นปฏิปักษ์ต่อกษัตริย์ทั้งโลกา"
ปรศุรามเป็นพราหมณ์ที่มีเรื่องกับกษัตริย์ และพกขวานคู่ใจไปตามฆ่ากษัตริย์ทั้งหมด หลงเหลือเอาไว้แค่เพียงราชินีและเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเพศหญิง แม้จะเป็นแบบนั้น ปรศุรามก็ยังเป็นอาจารย์ผู้ประสาทวิชา ของ [ภีษมะ] , [โทรณาจารย์] และ [กรรณะ]
"เทพผู้ทำลายโลก"
พระศิวะเป็นหนึ่งในเทพสูงสุด ว่ากันว่าพระองค์มีตาที่สามที่กลางหน้าผาก เมื่อใดที่ตาที่สามเปิดออกมาจะบันดาลให้เกิดไฟบรรลัยกัลป์ เผาทำลายโลก พระศิวะเป็นผู้มอบ ศรปาศุปัต ให้ [อรชุน]
"บิดาของ [อรชุน] ผู้เป็นราชาแห่งเทวดาทั้งปวง"
เมื่อครั้งที่ [อรชุน] ช่วยพระอัคนีเผาป่าขาณฑวะปรัสถ์ [อรชุน] ต้องร่วมมือกับพระ [กฤษณะ] เพื่อรบกับพระอินทร์ และเหล่าเทวดา เมื่อ [อรชุน] รบชนะ พระอินทร์ได้พา [อรชุน] ไปเที่ยวที่สวรรค์ จนได้เรียนรู้วิชาและอาวุธวิเศษมากมาย พระอินทร์ทราบด้วยญาณว่า [อรชุน] ต้องสู่รบกับ [กรรณะ] ในอนาคต จึงปลอมตัวเป็นชายแก่ไปขอเสื้อเกราะจาก [กรรณะ] เพื่อให้ [กรรณะ] ไร้อุปกรณ์ป้องกันตัว แต่ก็หลงกล [กรรณะ] ทำให้ ต้องประทานหอกวาสุวีศักติ ที่สามารถใช้ได้ครั้งเดียวให้ [กรรณะ] ไป
"บิดาของ [กรรณะ] ผู้ประทานกวจะ (เสื้อเกราะ) และกุณฑล (ตุ้มหู) ให้กับ [กรรณะ] เพื่อปกป้องดูแล" [กรรณะ] เองแม้ไม่ทราบว่าพระอาทิตย์เป็นบิดา แต่ยังคงบูชาพระอาทิตย์อยู่ทุกวัน และยังปฏิญาณว่า ทุกๆ วันเวลาเที่ยง เขาจะอนุญาตให้ประชาชน มารับบริจาคทานจากเขา โดยไม่มีครั้งใดที่เขา จะให้ใครกลับบ้านมือเปล่า ในวันที่ 17 ของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรที่ [กรรณะ] ถูก [อรชุน] ฆ่าตาย แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลามืด แต่แสงแดดก็อ่อนลงในทันที เหมือนว่าจะไว้อาลัย ให้กับความตายของ [กรรณะ] นั่นเอง
"ความริษยาของทุรโยธน์ที่มีต่อภารดาปาณฑพ เป็นบ่อเกิดแห่งสงครามจนสูญสิ้นตระกูล"
ทุรโยธน์ เป็นลูกของท้าว [ธฤตราษฏร์] และพระนาง [คานธารี] เป็นพี่ใหญ่ มีน้องชาย 99 คน และมีน้องสาวอีก 1 คน ทุรโยธน์ มีความอิจฉาภารดาปาณฑพ และเฝ้าหาหนทางในการทำลายอยู่ตลอด ในครั้งที่ทุรโยธน์กับ [ยุธิษเฐียร] เล่นสกาเพื่อพนันชิงบ้านเมือง ทุรโยธน์ได้ใช้ให้ [ศกุนิ] โกงการเล่น ส่งผลให้ภารดาปาณฑพและพระนางเทราปทีต้องถูกเนรเทศ 13 ปี ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ทุรโยธน์ถือเป็นผู้นำของกองทัพเการพ และในตอนท้ายของสงคราม ทุรโยธน์ประลองกับ [ภีมะ] และถูกฟาดกระบองเข้าที่หน้าตักจนตาย
"โอรสแห่ง [พระยม] ผู้ตั้งอยู่บนหลักธรรมเสมอ"
ยุธิษเฐียรถือว่าเป็นโอรสของท้าว [ปาณฑุ] กับพระนาง [กุนตี] แต่แท้ที่จริงแล้ว เป็นบุตรที่เกิดจากการที่พระนาง [กุนตี] สวดมนต์ เชิญ [พระยม] มาประทานบุตร ยุธิษเฐียรถือว่าเป็นพี่ชายคนโตของภารดาปาณฑพ เป็นผู้โดดเด่นด้านความยุติธรรม ตั้งอยู่ในหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา วันหนึ่ง [ทุรโยทน์] และ [ศกุนิ] ได้ท้าพนันสกากับยุธิษเฐียร เป็นเหตุให้ยุธิษเฐียรเสียพนันทุกสิ่งทุกอย่าง รวมถึงเดิมพันน้องๆ ทั้งหลายให้เป็นทาส จนท้ายที่สุดเหตุการณ์ยุติ และพวกปาณฑพต้องถูกเนรเทศ 13 ปี ยุธิษเฐียร เป็นผู้มีความยุติธรรม จนแม้กระทั่งราชรถของยุธิษเฐียรยังลอยอยู่เหนือพื้นหนึ่งคืบ เนื่องจากไม่ควรต้องมัวหมองด้วยมลทินฝุ่นผง
"อวตารหนึ่งใน 19 อวตารของพระศิวะ"
อัศวัตถามาเป็นลูกชายของ [โทรณาจารย์] ผู้ติดสอยห้อยตามพ่อมาอยู่ในราชสำนักหัสตินาปุระ ถือว่าเป็นอวตารหนึ่งของพระศิวะ อัศวัตถามาเกิดมาพร้อมอัญมณีที่กลางหน้าผาก ทำให้มีอำนาจเหนือทุกสิ่งที่ต่ำกว่ามนุษย์ และป้องกันความหิวโหยและความเหนื่อยล้าอีกด้วย อัศวัตถามาเข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร โดยอยู่ฝั่งเการพ เนื่องจากเป็นเพื่อนกับ [ทุรโยธน์] ในช่วงสงครามในวันที่ 15 หลังจากที่อัศวัตถามาทราบว่า [โทรณาจารย์] เสียชีวิต ก็เกิดความแค้น จึงแผลงศรนารายณ์ศาสตร์ ซึ่งเป็นอาวุธศักดิ์สิทธิ์ที่ได้รับประทานมาจากพระนารายณ์ บังเกิดเป็นกงจักรเข้าจัดการกองทัพปาณฑพ แต่ด้วยคำแนะนำจากพระ [กฤษณะ] ทำให้เองทัพ ปาณฑพรอดชีวิตจากศรนารายศาสตร์ได้ ในตอนท้ายของสงคราม เมื่อ [ทุรโยทน์] ได้ตายลง อัศวัตถามาได้ลอบเข้าค่ายของปาณฑพและฆ่า [ศิขัณฑิน] และลูกๆ ของเหล่าปาณฑพที่เกิดกับพระนาง [เทราปที] แถมยังพยายามแผลงศรพรหมเศียรใส่นางสุภัทรา ภรรยาของ [อรชุน] ที่กำลังตั้งครรภ์ ทำให้พระ [กฤษณะ] โกรธมากและใช้จักรสุทรรศนะ ตัดอัญมณีที่หน้าผากของอัศวัตถามา และสาปให้อัศวัตถามาต้องเร่ร่อน อยู่ตามลำพัง ร่างกายเน่าเปื่อยและไม่มีวันตายตลอดไป
"บรมครูผู้สอนศิลปะการรบ แห่งราชสำนักหัสตินาปุระ"
โทรณาจารย์ หรือโทรณะ เป็นอาจารย์สอนวิชาอาวุธของเหล่าเการพ และปาณฑพ เมื่อครั้งยังเด็ก ระหว่างที่เล่าเรียนนั้น โทรณะได้มีเพื่อนรักชื่อทรุปัท หลังจากเล่าเรียนสำเร็จ ก่อนจากกันทรุปัทได้บอกโทรณะว่า เมื่อใดก็ตามที่ต้องการความช่วยเหลือให้มาหาได้ทันที เวลาผ่านไปไม่นาน จนโทรณะแต่งงานมีลูกชาย 1 คนชื่อ [อัศวัตถามา] มีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้น โทรณะนึกถึงคำพูดที่เพื่อนเคยบอกไว้ จึงบากหน้าเดินทางไปพบทรุปัท แต่ทรุปัทปฏิเสธการช่วยเหลือ และแสดงทีท่ารังเกียจ ทำให้โทรณะแค้นใจมาก จึงเดินทางมาที่ราชสำนักหัสตินาปุระ สมัครเป็นอาจารย์สอนเหล่าเการพและปาณฑพ โดยมีข้อแม้ว่าเมื่อจบการศึกษา จะต้องทำสงครามกับท้าวทรุปัทเพื่อแก้แค้นให้ โทรณาจารย์เข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรในฝั่งเการพ และในวันที่ 15 ได้ถูกธฤษฏัทยุมนะ โอรสของท้าวทรุบท ตัดหัว ตามคำสาบานที่ให้ไว้ว่าจะเกิดมาเพื่อฆ่าโทรณะ
"เสาหลักผู้ค้ำจุนราชวงศ์กุรุ"
ท้าวภีษมะ เดิมชื่อเจ้าชายเทวพรต เป็นลูกของพระราชาศานตนุกับพระแม่คงคา เมื่อได้กล่าวคำสาบานว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับราชบัลลังค์ และจะไม่แต่งงาน จึงได้ชื่อใหม่ว่าภีษมะ ทั้งยังได้รับพรจากพระราชาศานตนุ ว่าจะให้สามารถ มีชีวิตยืนยาวจนถึงวันที่ยินยอมพร้อมตายเองถึงจะตายได้ ท้าวภีษมะเคยมีเรื่องราวกับพระนาง [อัมพา] จนทำให้พระนางถึงขนาดสาบาน ว่าจะกลับชาติมาเกิดเพื่อเป็นต้นเหตุแห่งความตายของท้าวภีษมะ ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ท้าวภีษมะเป็นผู้บัญชาการของกองทัพเการพ ทั้งที่ไม่เต็มใจนัก เพราะอีกฝั่งก็เป็นหลานของตนเองเช่นเดียวกัน จึงบอกว่าจะเข้าร่วมสงครามโดยไม่สังหารพวกปาณฑพเด็ดขาด
"ดาวเด่นของกองทัพปาณฑพ ผู้สิ้นแสงก่อนวัยอันควร"
อภิมันยุเป็นลูกของ [อรชุน] กับพระนางสุภัทรา น้องสาวของ [กฤษณะ] อภิมันยุเก่งกาจในการยิงธนูเทียบเท่า [อรชุน] เข้าร่วมสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรในกองทัพปาณฑพ ในวันที่ 13 ของสงคราม อภิมันยุได้ฝ่ากระบวนทัพของเการพ และติดอยู่ในวงล้อมของกองกำลังเการพ ท้ายที่สุดก็โดนรุมสังหารโดยคำสั่งของ [โทรณาจารย์]
"โอรสฝาแฝดของเทพอัศวิน ผู้มีความชำนาญในการปุศสัตว์"
สหเทพเป็นลูกที่เกิดจากพระนาง [มาทรี] ซึ่งได้เรียนรู้มนต์จากพระนาง [กุนตี] พระนางสวดเรียกเทพอัศวิน ซึ่งเป็นเทพฝาแฝด เพื่อประทานโอรสฝาแฝดให้แก่พระนาง ตั้งชื่อว่า [นกุล] และ สหเทพ
"โอรสฝาแฝดของเทพอัศวิน ผู้มีความชำนาญในการรบบนหลังม้า"
นกุลเป็นลูกที่เกิดจากพระนาง [มาทรี] ซึ่งได้เรียนรู้มนต์จากพระนาง [กุนตี] พระนางสวดเรียกเทพอัศวิน ซึ่งเป็นเทพฝาแฝด เพื่อประทานโอรสฝาแฝดให้แก่พระนาง ตั้งชื่อว่า นกุล และ [สหเทพ]
"โอรสแห่่ง [พระพาย] และน้องชายของ [หนุมาน]"
ภีมะเป็นลูกคนรองที่เกิดจากพระนางกุนตีสวดมนต์เรียกพระพายมาประทานบุตรให้ เกิดวันเดือนปี เดียวกันกับ [ทุรโยทน์] ในครั้งที่ [ทุหศาสัน] จิกหัวพระนาง [เทราปที] และพยายามถอดผ้าของพระนาง ภีมะโกรธแค้นจนสาบานว่าจะต้องฆ่า [ทุรโยทน์] ด้วยการเอากระบองฟาดที่หน้าตัก และจับ [ทุหศาสัน] แหกอกและดื่มเลือดจากอกให้ได้ ภีมะมีลูกชายกับนางยักษ์หิทิมพี ชื่อว่า [ฆโฏตกัจ] ซึ่งปรากฏตัวมาช่วยรบในสงคราม ที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย
"พระนางผู้เป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร"
พระนางเทราปที เป็นธิดาของท้าวทรุบท เมื่อครั้งที่ [อรชุน] ยกทัพไปรพกับท้าวทรุบท ตามคำขอของ [โทรณาจารย์] ท้าวทรุบท สวดมนต์ขอลูกที่มีความเก่งกาจ ฤาษีจึงประทานลูกชายชื่อ ธฤษฏัทยุมนะ และธิดาชื่อเทราปที เมื่อครั้งที่ท้าวทรุบทจัดพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที [อรชุน] เป็นผู้ชนะและได้รับเลือกเป็นสวามี เมื่อ [อรชุน] พาพระนางเทราปทีกลับที่พัก พระนาง [กุนตี] ยังไม่ทันจะหันมามองก็บอกให้ [อรชุน] นำสิ่งที่ได้มาแบ่งพี่น้องทุกคน คนละเท่าๆ กัน จึงเป็นเหตุให้พระนางเทราปที ต้องเป็นภรรยาของเหล่าปาณฑพทั้ง 5 คน ครั้งที่พระนางถูกลากออกมาเพื่อประจานโดย [ทุหศาสัน] เป็นเหตุให้ภารดาปาณฑพโกรธมากและต้องการทำสงครามเพื่อแก้แค้น
"ลูกชายภีมะ ผู้ซึ่งเกิดมาก็โตเลย"
ฆโฏตกัจเป็นลูกของ [ภีมะ] กับนางรากษสหิทิมพี ในศึกที่ทุ่งกุรุเกษตร ฆโฏตกัจปรากฏตัวเพื่อเข้าร่วมฝั่งปาณฑพ และเป็นแม่ทัพคนสำคัญ ในการจัดการกับอลัมพุษะและอลายุธ ในการศึกวันที่ 14 ซึ่งมีการรบยาวนานจนถึงตอนกลางคืน ฆโฏตกัจได้สังหารกองทัพเการพมากมาย จน [ทุรโยธน์] ต้องสั่งให้ [กฤษณะ] นำหอกวาสวีศักติ ที่ตั้งใจจะเก็บไว้สังหาร [อรชุน] มาใช้สังหารฆโฏตกัจ ก่อนสิ้นใจฆโฏตกัจขยายตัวให้ใหญ่ที่สุด ลัมทับกองทัพเการพไปถึง 1 อัคเษาหิณี
"มารดาแห่งภารดาปาณฑพ"
พระนางกุนตี เดิมทีชื่อ ปฤถา แต่พระราชาแคว้นกุนตีโภช ผู้ไม่มีโอรสธิดาได้ขอไปเลี้ยง และเปลี่ยนชื่อเป็นกุนตี เมื่อครั้งยังเด็กพระนางกุนตีได้คอยรับใช้ปรนนิบัติฤาษีทุรวาส จนเป็นที่พอใจ ฤาษีทุรวาสจึงได้สอนมนต์สำหรับเชิญเทพเจ้าลงมาประทานบุตรให้ วันหนึ่งพระนางได้ลองท่องมนต์ทดลองเชิญ [พระอาทิตย์] ด้วยความที่นางยังเด็กและไม่ต้องการบุตร แต่มนต์วิเศษไม่สามารถยกเลิกได้ [พระอาทิตย์] จึงประทานบุตรให้แก่พระนาง โดยที่ยังไม่เสียพรหมจรรย์ เมื่อนางคลอดลูกแล้ว นางจึงนำทารกใส่ตะกร้าไปทิ้งแม่น้ำ มีสารถีคนหนึ่งมาพบทารกและตั้งชื่อบุตรว่า [กรรณะ]
"ลูกเต๋าจะฟังคำสั่งข้า"
ศกุนิเป็นพี่ชายของพระนาง [คานธารี] เมื่อครั้งที่พระนางอภิเษก ก็ย้ายตามพระนางมาอยู่ที่หัสตินาปุระ ด้วยความที่ศกุนิไม่พอใจที่พระนาง [คานธารี] ต้องแต่งงานกับพระราชาตาบอด จึงวางแผนทำลายราชสำนักหัสตินาปุระ ศกุนิชอบเล่นสกา และมีลูกเต๋าที่พกติดตัวอยู่เสมอ ว่ากันว่า ศกุนินำอัฐิของบิดามาทำเป็นลูกเต๋า ลูกเต๋าจึงเชื่อฟังศกุนิเสมอ ศกุนิวางแผนให้ [ทุรโยทน์] เป็นใหญ่ โดยยุยงให้ [ทุหศาสัน] วางยา [ภีมะ] สมัยเด็ก ลอบวางเพลิงเหล่าปาณฑพ และเล่นโกงสกาเป็นเหตุให้ปาณฑพถูกเนรเทศ 13 ปี
"ที่ใดมีธรรม ที่นั่นมีชัย"
พระนางคานธารี มีพี่ชายชื่อ [ศกุนิ] เมื่อพระนางทราบว่าต้องแต่งงานกับท้าว [ธฤตราษฏร์] ผู้ตาบอด นางได้ใช้ผ้าผูกตาให้มิดชิดเหมือนชีวิตของสวามี พระนางคานธารี มีโอรสทั้งสิ้น 100 คน โดยมี [ทุรโยธน์] เป็นพี่ใหญ่ ซึ่งมีนิสัยเลวทราม หลังจากจบสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ลูกชายของพระนางเสียชีวิตทั้งหมด ด้วยความโกรธแค้น นางจึงสาปให้พระ [กฤษณะ] ต้องประสบเคราะห์กรรมเดียวกัน ญาติพี่น้องฆ่าฟันกันเอง
"พระราชาตาบอด ไม่เท่าใจบอด"
ท้าวธฤตราษฏร์เป็นโอรสของฤษีวยาสกับพระนางอัมพิกา ซึ่งเกิดจากพิธีนิโยค ในพิธีนิโยค พระนางอัมพิการู้สึกขยะแขยงฤาษีวยาสจึงหลับตาตลอดทั้งพิธี ส่งผลให้ลูกของนางที่เกิดมาจะต้องตาบอด ท้าวธฤตราษฏร์เป็นพี่ชายของ ท้าว [ปาณฑุ] และมีพระชายา 1 พระองค์ คือ [คานธารี] แม้ท้าวธฤตราษฏร์จะครองราชสมบัติแทนท้าว [ปาณฑุ] แต่ก็มีใจริษยาท้าว [ปาณฑุ] อยู่เสมอ หลังจากที่ท้าว [ปาณฑุ] เสียชีวิต เหล่าปาณฑพและพระนาง [กุนตี] ก็ได้เดินทางกลับเมือง ท้าวธฤตราษฏร์ ตัดสินเรื่องราวใดๆ ที่เกิดในเมืองเอนเอียงเข้าข้างบุตรชาย [ทุรโยธน์] และคอยสนับสนุนเรื่องร้ายๆ ที่ทำ ในระหว่างสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ท้าวธฤตราษฏร์ได้คนขับรถม้าชื่อ สัญชัย คอยเล่าสถานการณ์ในการศึกให้ฟังอยู่ตลอดเวลา
"ผู้นำความตายสู่ภีษมะ"
แต่เดิมเจ้าหญิงอัมพา ถูกชิงตัวมาจากพิธีเลือกคู่โดย ท้าว [ภีษมะ] พร้อมกับพระนางอัมพิกา และอัมพิลิกา ท้าว [ภีษมะ] มารู้ทีหลังว่าพระนางอัมพา มีใจให้พระราชาศาลวะ จึงปล่อยตัวให้พระนางกลับไปหาพระราชาศาลวะ แต่ทางพระราชาศาลวะไม่ต้องการตัวพระนางเพราะมองว่าเป็นสมบัติของท้าว [ภีษมะ] เนื่องด้วยท้าว [ภีษมะ] เคยเอ่ยคำสาบานว่าจะไม่แต่งงาน จึงไม่ยอมแต่งงานกับพระนางอัมพา ส่งผลให้พระนางแค้นท้าว [ภีษมะ] เป็นอย่างมาก และเดินทางไปทั่วเพื่อหาคนที่สามารถฆ่าท้าว [ภีษมะ] ได้ เมื่อไม่สามาถหาได้ นางจึงบำเพ็ญตบะแด่พระขันธกุมาร พระขันธกุมารได้มอบพวงมาลัยที่ไม่ว่าใครสวมจะเป็นผู้ที่สามารถฆ่าท้าว [ภีษมะ] ได้ แต่ก็ยังไม่มีพระราชาองค์ใด ยอมสวมพวงมาลัย พระนางอัมภาจึงแขวนพวงมาลัยไว้หน้าเมือง และสวดมนต์ขอพรพระศิวะ ให้ตนเกิดใหม่มาเป็นคนที่จะนำความตายมาสู่ท้าว [ภีษมะ] และกระโดดเข้ากองไฟ ไปเกิดใหม่เป็น ศิขัณฑิน
"น้องชายสุดรักของ [ทุรโยธน์]"
ทุหศาสัน เป็นน้องชายของทุรโยธน์ บุตรของท้าวธฤตราษฏร์ และพระนางคานธารี
ในครั้งที่ยุธิษเฐียรพนันสกากับทุรโยธน์และศกุนิ การพนันเป็นไปอย่างยาวนาน ยุธิษเฐียรแพ้พนันจนเสียทรัพย์สินและบ้านเมืองทั้งหมด จนยุธิษเฐียร หน้ามืดนำเอา ตัวเองและน้องๆ ทั้งหมดมาเป็นเดิมพัน แต่ก็ยังเสียพนันจนหมด
ในที่สุดก็นำ พระนางเทราปทีมาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสัน ไปนำตัวพระนางเทราปทีจากที่พักมา และเปลื้องผ้าของนางออก พระนางเทราปที ได้ขอให้พระ กฤษณะเนรมิตให้ผ้ายืดออกอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันพยายามดึงผ้าเท่าไหร่ก็ไม่เห็นทีท่าว่าผ้าจะหมดจากกายนาง จนหมดแรงไปเอง
"มารดาแห่งนกุลและสหเทพ"
พระนางมาทรี เป็นพระขนิษฐาของราชาศัลยะ และได้แต่งงานกับ ท้าวปาณฑุ เนื่องด้วยท้าวปาณฑุไม่สามารถมีลูกได้ พระนางกุนตี จึงได้สอนมนต์วิเศษ เพื่อเรียกเทวดามาให้กำเนิดลูก
พระนางมาทรี สวดมนต์เรียกเทพอัศวิน มาประทานโอรสฝาแฝด ชื่อนกุล และสหเทพ
วันหนึ่งท้าวปาณฑุเกิดความใคร่อยากสมสู่กับพระนางมาทรี คำสาปก็มีผลทันที ส่งผลให้ท้าวปาณฑุสิ้นใจ พระนางมาทรีเศร้าเสียใจ จึงตัดสินใจกระโดดเข้ากองไฟตายตามไปด้วย
"ผู้ได้รับพรให้สามารถเอาชนะเหล่าปาณฑพได้ 1 วัน"
ท้าวชัยทรัถได้สมรสกับทุหศาลา ซึ่งเป็นน้องสาวของทุรโยธน์ เมื่อครั้งที่เหล่าปาณฑพแพ้พนันสกาและถูกเนรเทศไปอยู่ป่า 12 ปี ท้าวชัยทรัถซึ่งมีจิตสเน่หาต่อพระนางเทราปที ได้พยายามฉุดคร่าพระนางขึ้นรถม้า แล้วนำกลับแคว้น แต่โชคดีที่เหล่าปาณฑพมาช่วยได้ทัน แถมยังจับชัยทรัถโกนหัวให้เหลือเพียงผมห้าหย่อมก่อนปล่อยตัวไป
ท้าวชัยทรัถแค้นมากจึงบำเพ็ญตบะขอพรจากพระศิวะ ขอให้สามารถชนะเหล่าปาณฑพได้ 1 วัน
ในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรวันที่ 13 ยุธิษเฐียรได้ขอให้อภิมันยุ นำทางทะลวงเข้ากองทัพเการพ แม้จะไม่รู้วิธีออก เมื่ออภิมันยุฝ่ากองทัพเข้าไปได้ ท้าวชัยทรัถก็นำทัพมารพกับเหล่าปาณฑพ ด้วยพรที่ได้รับจากพระศิวะ ทำให้ชัยทรัถสามารถตั้งรับสู้กับเหล่าปาณฑพได้ และส่งผลให้อภิมันยุตกอยู่ในวงล้อมของกองกำลังเการพ และถูกฆ่าตายในที่สุด